ไอที

การสร้างเว็บไซต์ง่ายๆ ด้วย wordpress ฉบับผู้เริ่มต้น 2020

เราอยู่ในยุคที่เทคโนโลยี อะไรๆก็เป็นเรื่องใกล้ตัวเราไปซะทุกอย่าง สำหรับแม่ค้าพ่อค้า SME หรือผู้ประกอบการทั้งหลาย เชื่อว่าภาพลักษณ์ของธุรกิจจะครบองค์ประกอบได้นั้น คุณจะต้องมีตัวตนบนโลกออนไลน์ อย่างเข้าถึงให้ได้มากที่สุดแล้วน่าเชื่อถือที่สุด และสื่อออนไลน์ที่สร้างความเชื่อได้มากที่สุด ก็น่าจะเป็นเว็บไซต์ อย่างที่เขาบอกันว่า การมีเว็บไซต์กับธุรกิจหรือองค์กรย่อมสร้างความเชื่อถือได้เพิ่มมากขึ้น

คงไม่แปลกที่ทุกวันนี้ ผู้ประกอบการรายใหม่หรือเจ้าของธุรกิจเล็ก มีเว็บไซต์ของตัวเองเป็นเรื่องธรรมดา สำหรับสินค้าและบริการแล้วที่นิยมกันมากี่สุดก็น่าจะเป็น เว็บไซต์ในรูปแบบ Ecommerce แต่ในบทนี้ผมกำลังจะพูดถึง การสร้างเว็บไซต์ง่ายๆ ด้วย WordPress สำหรับผู้เริ่มต้น ซึ่งวันนี้เองผมจะพามาสร้างเว็บไซต์ง่ายๆ แม้ผู้ไม่เคยทำก็สามารถทำได้ด้วยตนเอง

สิ่งที่เราต้องเตรียมคือ การจดโดนเมน และพื้นที่โฮส เพื่อที่จะมีพื้นสำหรับเว็บไซต์ของเรา สำหรับท่านใดที่ยังไม่รู้ในส่วนนี้ ผมแนะนำให้ใช้ผู้บริการกับโฮสเจ้านี้ได้ครับ ค่อยข้างจะ Support เราดีมากๆเลย : hostatom.com
เมื่อเราจดโดเมน และพื้นที่โฮสมาแล้ว ทางผู้ให้บริการจะให้ Username&Password ที่เราใช้ในการสมัคร ให้เรา ทำการ Login เข้าสู่ระบบหลังบ้านของโฮสเพื่อที่จะติดตั้งเวิร์ดเพรส




ตัวอย่าง ตัวจัดการเว็บโฮสติ้ง

ท่านใดที่ใช้บริการของ Plesk หน้าตาจะเป็นแบบนี้

และท่านใดที่ใช้ DirectAdmin หน้าตาจะเป็นแบบนี้ครับ

 

 

  1. การตั้งเวิร์ดเพลส install wordpress

ในตัวอย่างการติดตั้งผมขอเอาตัวอย่างจากการติดตั้งด้วยเว็บโฮสติ้ง ของ Plesk เราจะไม่ขอพูดรายละเอียดของส่วนโฮสเยอะนะครับ เพราะบทนี้จะเน้นการสร้างเว็บไซต์ด้วยเวิร์ดเพลส

เมื่อเพื่อนเช่าพื้นที่โฮสแล้ว จะได้ username & password การเข้าระบบ ก็จะเข้ามาหน้าจัดการของ Control Panel Plesk

 

  • คลิกที่เมนู “Websites & Domains”
  • ให้เราเลือกติดตั้ง Domain ที่เราได้ทำการจด แล้วก็คลิกเมนู “Install WordPress”

 

  • เลือก Installation Path จริงๆถ้าเราจดโดเมนเดียว จะมมีแค่เว็บเดียวเท่านั้น
  • ตั้งชื่อให้กับเว็บไซต์ ตรง Website title  (หรือสามารถเข้าไปแก้ไขทีหลังได้)
  • ป้อน Username,  Password , Email
  • เมื่อเสร็จสิ้นให้คลิกปุ่ม “Install”

*ก็จะได้หน้าตาเว็บออกมาเปล่าๆแบบนี้ ยังไม่เสร็จนะครับ ไปต่อกันเลย

 

2. เข้าระบบจัดการเว็บไซต์หลังบ้าน

สามารถเข้าใช้งานได้ด้วยตามตัวอย่างลิงค์นี้ครับ www.mysite.com/wp-admin  หรืให้เราจำง่ายๆ พิมพ์ URL ตามหลังของเว็บด้วย [ wp-admin ] จากหน้านั้นให้ทำการ Login เข้าสู่ระบบ

  • ป้อน Username & password
  • เมื่อเสร็จสิ้นให้คลิก Login หรือ เข้าสู่ระบบ

 

3. การตั้งค่าพื้นฐานของ WordPress

การตั้งค่าให้เป็นภาษาไทยเพื่อการอ่านเข้าใจง่ายในการใช้เมนู แต่สำหรับท่านใดที่ถนัดเมนูภาษา อังกฤษก็ไม่ต้องเปลี่ยนก็ได้ครับ ให้ข้ามไปตั้งค่า เขตเวลาเลย

  • คลิกตรงเมนู “ตั้งค่า”
  • เลือกภาษาของเว็บไซต์
  • เลือกเขตเวลา ให้เลือกเป็น UTC+7 จะเป็นเวลาของท้องถิ่นที่เว็บไซต์จะแสดงเวลาปัจจุบันครับ
  • เมื่อเสร็จแล้วให้คลิกปุ่ม “บันทึกการเปลี่ยนแปลง”

 

4. การตั้งค่าให้เว็บไซต์แสดงผลหน้าแรก หรือหน้าที่เราต้องการให้แสดงเป็นค่าเริ่มต้น

ปกติกเวลาเราติดตั้งเว็บไซต์แล้ว จะแสดงหน้าเริ่มต้นด้วยหน้า Blog มาแสดง จากนั้นให้เรามาตั้งค่าให้แสดงหน้าแรกด้วยวิธีต่อไปนี้

  • เลือกเมนูตั้งค่า
  • คลิกที่ “การอ่าน”
  • การแสดงหน้าแรกของเว็บเว็บ เลือก “หน้าตายตัว” และให้เลือก เพจที่จะแสดง คือเมนู “หน้าแรก”  (ในส่วนที่เป็น Dropdown ให้เลือกจะเป็นในส่วนของเพจ (Page) ที่เราจะไปเพิ่มหน้าในข้อต่อไปนี้ครับ)
  • เมื่อเสร็จสิ้นให้คลิกปุ่ม “บันทึกการเปลี่ยนแปลง”

 

การตั้งค่าลิงค์

 

เมื่อเราตั้งค่าการแสดงผลเสร็จแล้วหน้าเว็บก็จะได้ออกเป็นแบบนี้ครับ

 

5. การสร้าง “หน้า” สำหรับแสดงผล

สำหรับการสร้าง “หน้า” ในเมนูภาษา อังกฤษคือ “Page” จะเป็นการสร้างให้เว็บไซต์มีการแสดงผล ในแต่ละหน้า หลักๆที่เลือกสร้างพื้นฐานเบื้องต้นก็จะเป็น หน้าแรก , ผลิตภัณฑ์, บทความ, เกี่ยวกับ, ติดต่อ  ในส่วนนี้เราสามารถนำไปเป็น เมนูหลักได้ครับ

 

  • คลิกที่เมนู “หน้า”
  • คลิกที่ปุ่ม “เขียนหน้าใหม่”

  • เพิ่มชื่อหน้า ตัวอย่าง “ติดต่อ”
  • เปลี่ยนให้เป็น ชื่อภาษาอังกฤษ
  • เพิ่มรายละเอียด
  • เมื่อเสร็จสิ้นให้กดปุ่ม “อับเดต” หรือ “เผยแพร่”

เราสามารถสร้างอื่นๆได้หลายๆหน้า อย่างผมบอกไว้ในข้อ 4 จะมีหน้าอื่นด้วย เช่น หน้าสินค้า ติดต่อ เกี่ยวกับเรา อื่นๆ ได้อีก

ตัวอย่าง หน้า

6. การสร้างเมนู

การที่จะมีเมนู เราจำเป็นต้องสร้างโครงสร้างเมนูหลักก่อน

  • ตั้งชื่อเมนูหลัก เป็นชื่อภาษาอังกฤษ ที่เราจดจำได้ ตัวอย่าง “Mian Menu”
  • กดปุ่ม “สร้างเมนู”

 

  • คลิกเลือกเมนูจากหน้าที่สร้างไว้
  • เพิ่มลงเมนู

 

จะเห็นว่าเมนูที่เราเลือกจะมาอยู่ฝั่งด้านขวา ซึ่งจริงๆแล้วก็จะมาจาก “หน้า” ที่เราสร้างไว้ในข้อ 5

  • คลิกเลือกการแสดงเมนู
  • เมื่อเสร็จสิ้นให้คลิกปุ่ม “”บันทึกข้อมูล

 



ตัวอย่างแสดงเว็บไซต์และ เมนู

 

เพียงเท่านี้เราก็ได้หน้าตาเว็บแรกของเราแล้วนะครับ สำหรับบทนี้อาจจะไม่ลงลึกถึงรายละเอียดต่างๆ  ยังมีอีกหลายส่วนที่ให้เพื่อนๆได้เรียนรู้และการปรับแต่งเว็บไซต์ให้สวยงาม ในบทนี้ผมพยายามเน้นให้เห็นถึงการสร้างเว็บไซต์และคุ้นเคยกับ การตั้งค่าพื้นฐานก่อนครับ แล้วเจอกันในบทถัดไป

โชคดีมีความสุข